วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

4 ขั้นตอน 'รวย' ไม่รู้เรื่องกับตระกูล 'หยอดเหรียญ'


อาจดูเป็นเรื่องง่ายกับการลงทุนตู้หยอดเหรียญประเภทต่างๆ เพียงแค่เป็นนักเล็งทำเลที่ดี กับการบริหารเวลาคือไปดูแลเครื่อง และเก็บสตางค์

แต่ภายใต้สิ่งง่ายๆ เหล่านี้ ยังมีเคล็ดไม่ลับที่น่าสนใจนำมาเปิดเผยให้ได้อ่านกัน ถ้าทำครบ 4 ขั้นตอนนี้โอกาสรวยไม่รู้เรื่องก็ง่ายขึ้นมาอีก (ในการยกตัวอย่างจะอิงกับตู้หยอดเหรียญประเภทน้ำดื่ม เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น)

1. ทำเล

ผู้ลงทุนต้องเป็นนักหาทำเลตัวยง เป็นการอาศัยความเก่งกาจเพียงอย่างเดียวนี้มองหาทำเลที่คาดหวังถึงการทำเงิน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการทำเป็นอาชีพหลักไม่ใช่อาชีพเสริม เพราะการทำเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ต่อเดือนเลี้ยงตัวนั้นต้องลงทุนขั้นต่ำที่ 10 ตู้บางคนมากถึง 40 ตู้ ฉะนั้นทำเลเป็นสิ่งสำคัญมาก


ทำเลที่น่าสนใจกรณีของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ในขณะนี้คือ คอนโด อพาร์ทเม้นท์ และหมู่บ้านจัดสรรของการเคหะ หากตั้งอยู่ในย่านหรูก็สามารถทำเงินได้มากจากราคาขายปกติต่อลิตรที่ 1 บาทในบางทำเลอาจทำราคาได้มากกว่านี้เป็นลิตรละ 1.50 บาท

แต่ถ้าเป็นตู้เดิมเติมเงินมือถือ ทำเลที่ตั้งนอกจากจะอิงแหล่งชุมชนแล้ว ต้องอิงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เติมเงินครั้งละไม่มากแต่บ่อยครั้งต่อวัน
ส่วนโอกาสทำเลในอนาคต ขยายตามขอบชุมชนเมือง ไปตามอสังหาริมทรัพย์ที่โต แม้แต่ชุมชนโรงงาน

2. การลงทุน

ผู้ที่เป็นมือใหม่จุดเริ่มต้นมักประสบความสำเร็จจากการตั้งตู้เดียวก่อน แล้วดี ก็ทยอยเพิ่มตู้ เพิ่มที่ละ 1-2 ตู้ แต่จากนั้นก็จะเริ่มซื้อทีละ 5 -10 ตู้

จากสถิติปัจจุบัน ผู้ที่ไม่ทำอาชีพอื่นเลย คือลงทุนเฉลี่ย 10 ตู้ อยู่ได้โดยไม่ต้องทำอาชีพอื่น บริหารตู้อย่างเดียว การบริหารคือเข้าทำความสะอาด และเก็บเงิน แบ่งเวลาในการเข้าไปดูแล

การสร้างรายได้จากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ขึ้นอยู่กับทำเล รายได้ต่อเดือนต่อตู้ที่ 4,000 บาท สูงสุด 15,000 บาทต่อตู้ต่อเดือน ถ้าพลาดอาจต่ำกว่า 4,000 บาท แต่ก็สามารถเคลื่อนย้ายหาทำเลใหม่ได้ ตู้น้ำดื่มมาร์จิ้นสูง ราคาขายน้ำจากตู้น้ำหยอดเหรียญเฉลี่ยทุกแบรนด์ลิตรละ 1 บาท ต้นทุนน้ำ ไฟ 8 สตางค์ (ถ้ารายได้ 10,000 บาทต้นทุนก็ 800 บาทเท่านั้น กำไร 9,200 บาท)

ราคาต้นทุนบวกลบตามทำเลที่ตั้ง อย่างสถานที่ที่เป็นที่ตั้งของนิติบุคคลราคาน้ำต่อยูนิตจะแพงกว่า เช่น หอพัก คอนโด อาจชาร์ตน้ำ ไฟ ต้นทุนอาจเป็น 10 สตางค์ คอนวีเนี่ยนสโตร์บางแห่ง คิดค่าเช่าเหมา น้ำ ไฟด้วย เดือนละ 1,400 บาท บางทำเลแบ่งเปอร์เซ็นจากยอดขาย เช่น 20% จากรายได้ หรือ คิดเป็นค่าเช่าที่ 500-1,000 บาท

3. โปรดักส์ 

โปรดักส์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เช่น ตู้น้ำ ต้องตอบโจทย์การจัดการน้ำ มีความสะอาด การดูแลรักษา บำรุง และการทำความสะอาดตู้ภายนอก ตู้เติมเงินมือถือต้องสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นได้รวดเร็วเช่น กระบวนการเติมเงินได้ภายใน 20 วินาที จากที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 1-2 นาทีถึงจบกระบวนการ

4. การบริหารเหรียญ 

เพราะเหรียญเป็นเงินที่มีน้ำหนักการไขเหรียญเป็นภาระที่ผู้ประกอบการต้องสนใจ อาจต้องลงทุนกับการคัดแยกเหรียญให้กับธนาคารหรือกลุ่มแม่ค้า สำหรับตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 1 ใบจะใส่เหรียญบาทได้อย่างต่ำ 5,000 เหรียญ ถ้าเหรียญ 10 เป็น 10,000 เหรียญ ขึ้นกับชนิด และขนาดความจุของตู้

โอกาส ที่จะล้มเหลวคือของธุรกิจตระกูลตู้หยอดเหรียญ “ทำเล” แต่การล้มเหลวของธุรกิจนี้ไม่ใช่ล้มเหลวแบบเข้าตาจน แต่การล้มเหลวคือรายได้น้อย ถ้าต้องการรายได้ดีขึ้นให้ย้ายทำเลใหม่ อาจจะห่างจากจุดเดิม 50 เมตรถึง 200 เมตร เพราะใช้พื้นที่ประมาณ 1*2 ตารางไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องการเช่าที่ แต่จะรู้ว่าทำเลนั้นๆ ดีหรือไม่ดีให้ใช้ระยะเวลา 1 เดือนถึงจะรู้ว่ามีผู้ใช้ในปริมาณที่เพียงพอหรือไม่

ตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติมองว่าเหมาะสมกับสังคมไทยแล้วหรือยัง ทั้งผู้ลงทุน และผู้บริโภค ธุรกิจหยอดเหรียญที่เหมาะกับเมืองไทยคือ ทำแล้วต้นทุนต่ำกว่าปรกติ คนใช้บริการต้องรู้สึกว่าของราคาถูกกว่าปรกติ อย่างซื้อน้ำขวดละ 10 บาท แต่หยอดตู้ลิตรละ 1 บาท บัตรเติมเงินขั้นต่ำใบละ 50 บาท แต่หยอดตู้ได้ขั้นต่ำ 20 บาท แต่ถ้าราคาเท่ากันคนอาจจะไม่อยากใช้บริการการตู้

ฉะนั้นถ้าจะเลือกธุรกิจตู้หยอดเหรียญต้องเลือกของที่แพงจากกระบวนการ อย่างตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นการลดกระบวนการ เช่น ขยายน้ำดื่ม 10 บาทเพราะมีค่าจัดส่ง แพคเกจจิ้ง พอเป็นตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นการตัดกระบวนการพวกนี้ไปหมด เป็นต้นทุนการผลิต พอลดกระบวนการลงทำให้ต้นทุนต่ำ

ที่มาเว็บ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=02-2010&date=15&group=63&gblog=13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น